ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว


จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ


หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์

หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501

คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) 

พ.ศ. 2489-2501


ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator)
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น   และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี

UNIVAC (Universal Automatic Computer)
จึงนับได้ว่า UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพง ยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ



IBM-701

ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่

1.ENIAC
2.EDVAC
3.UNIVAC
4.IBM-701
5.IBM-650

ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1


Vacuum Tube
ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น

เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
Machine Language

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506

คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506


มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับใช้กับเครื่อง

CDC 3600


ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่

1.IBM 16202.IBM 7094
3.CDC 1604
4.CDC 3600
5.UNIVAC 1108
IBM 1620
UNIVAC 1108

















ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 2


Transistor
ช้อุปกรณ์ ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ซึ่งสร้างจากสารกึ่งตัวนำ (Semi-Conductor) เป็นอุปกรณ์หลัก แทนหลอดสุญญากาศ เนื่องจากทรานซิสเตอร์เพียงตัวเดียว มีประสิทธิภาพในการทำงานเทียบเท่าหลอดสุญญากาศได้นับร้อยหลอด ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดเล็ก ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อย ความร้อนต่ำ ทำงานเร็ว และได้รับความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
Magnetic Core
เก็บข้อมูลได้ โดยใช้ส่วนความจำวงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core)
มีความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันของวินาที (Millisecond : mS)

Assembly Language







สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)

เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512

คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512


PERQ 1
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม (Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า ไอซี” (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก

นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Data Base Management Systems : DBMS) และมีการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกัน และมีระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆ คน พร้อมๆ กัน (Time Sharing)

IBM-360 series




ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่

1.IBM-360 series
2.Honeywell-6000 series
3.PDP(Personal Data Processor)
4.IBM-370/168
5.TDC-316


TDC-316














ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 3

IC
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี และวงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) เป็นอุปกรณ์หลัก
ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
ภาษาระดับสูง
ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532

คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532

Microprocessor
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

Microprocessor intel 80486























ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่

1.Apple 1
2.Apple 2
3.CRAY-X-MP(Super Computer)
4.SAMSUNG SPC-1000


SAMSUNG SPC-1000


APPLE 1




ลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4

VLSI
ใช้อุปกรณ์ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่ (Large Scale Integration : LSI) และ วงจรรวมสเกลขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integration : VLSI) เป็นอุปกรณ์หลัก

มีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในพันล้านวินาที (Nanosecond : nS) และพัฒนาต่อมาจนมีความเร็วในการประมวลผลแต่ละคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านล้านของวินาที (Picosecond : pS)

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้

โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล


ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่

1.Apple Macintosh
2.Laptop PC,Ultrabook,PC, Superconputer
3.แท็บเล็ต และ สมาร์ทโฟนต่างๆ
4.อุปกรณ์ จำพวกสวมใส่ เช่น Google Glass,Samsung Galaxy Gear
APPLE MACINTOSH

Titan Supercomputer

ASUS Tablet,Smartphone,Laptop
Microsoft Surface 



















องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่

ระบบหุ่นยนต์หรือแขนกล
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น





ระบบประมวลเสียงพูด Siri,S-voice,Google Now


2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น





Speech Recognition System


3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) 
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 
ภาพที่ออกมาจากการวิเคราะห์เชื้อไวรัส
Tianhe-2 ในประเทศจีน Supercomputer ที่เร็วที่สุดในโลก ใช้ในการวิจัยและวิเคราะห์
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จัก
ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น

ประวัติของ Macintosh

Macintosh 128K, Macintosh 512K
ประวัติของ Macintosh
แมคอินทอช หรือที่รู้จักในชื่อย่อว่า แมค Mac เป็นชื่อของผลิตภัณฑ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พัฒนา ออกแบบ และจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล แมคอินทอชเครื่องแรกออกวางจำหน่ายเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2527 ออกแบบโดย เจฟ ราสกิน แต่ปัจจุบันโจนาธาน ไอฟ์ได้มารับช่วงต่อ โดยถือว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก และเมาส์ ซึ่งไม่ได้ใช้คอมมานด์ไลน์เหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไปในขณะนั้น โดยในส่วนประเทศไทย บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด เป็นผู้นำเข้าและเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรายแรก ซึ่ง แมคอินทอชรุ่นแรกที่ บริษัท สหวิริยา ได้เปิดตัวและทำตลาดเป็นรุ่นแรกคือ Macintosh Plus ซึ่งตลาดที่ บริษัท สหวิริยา ทำในขณะนั้น ส่วนใหญ่เป็น สำนักพิมพ์ นิตยสาร โรงพิมพ์ บริษัท ออกแบบ และบริษัท โฆษณา ซึ่งนับได้ว่า Macintos เป็นผู้เริ่มพลิกวงการพิมพ์ และออกแบบ โดยใช้ ระบบปฏิบัติการ ที่ถือว่า ฉลาด และเป็นมิตร กับ ผู้ใช้งาน (user) มากที่สุดในขณะนั้น แต่เนื่องจากราคาที่สูงมากในขณะนั้น (ราคา 2,495 ดอลลาร์) ทำให้ยังไม่แพร่หลายในหมู่ ผู้ใช้ทั่วไป
 โจนาธาน ไอฟ์

เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชปัจจุบันมีผู้ควบคุมการออกแบบ คือ
โจนาธาน ไอฟ์ โดยมีผลิตภัณฑ์หลักในชื่อสายการผลิต แมคมินิ ไอแมค และแมคโปร สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แมคบุ๊ก แมคบุ๊กแอร์ และแมคบุ๊กโปร สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา

เครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชจะมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเฉพาะในชื่อแมคโอเอส ซึ่งรุ่นปัจจุบันคือ Mac OS X 10.10 (Yosemite) ปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอชซึ่งเปลี่ยนมาใช้ หน่วยประมวลผลกลางของอินเทลสามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการอื่นเช่น ลินุกซ์ หรือ วินโดวส์ได้

แมคอินทอชรุ่นต่าง ๆ

 Lisa

1980s Macintosh

1983    Lisa       

1984    Lisa 2
Macintosh 128K

Macintosh 512K
Macintosh 128K (revised)

1985    Macintosh XL

1986    Macintosh Plus
Macintosh 512Ke
Macintosh XL

1987    Macintosh Plus (Platinum)
Macintosh SE   
Macintosh II     

1988    Macintosh IIx   

1989    Macintosh SE/30
Macintosh IIcx 
Macintosh SE FDHD
Macintosh Portable
Macintosh IIci
Macintosh Portable

1990s Macintosh

1990    Macintosh IIfx  
Macintosh LC     LC          
Macintosh Classic            
Macintosh IIsi 

1991    Macintosh Portable (backlit screen)       
Macintosh Classic II        
Quadra 700        
Quadra 900 
PowerBook 100
PowerBook 140


Quadra 900 
PowerBook 170

1992    Macintosh LC II LC          
Quadra 950        
PowerBook 145
Macintosh IIvi   
Macintosh IIvx 
PowerBook 160
PowerBook 180
PowerBook Duo 210      
PowerBook Duo 230                      
PowerBook Duo 230      

1993    Macintosh LC III / III+    
Macintosh Color Classic
Centris 610         
Centris 650         
Quadra 800        
PowerBook 165c
Workgroup Server 80    
Workgroup Server 95    
PowerBook 145b
PowerBook 180c
Macintosh LC 520
Macintosh Color Classic
Workgroup Server 60
Quadra 660AV
Quadra 840AV
PowerBook 165 PowerBook
Macintosh Color Classic II
Macintosh TV
Quadra 610
Quadra 650
PowerBook Duo 250
PowerBook Duo 270c

1994    Macintosh LC 550
Macintosh LC 575
Power Macintosh 6100 
Workgroup Server 9150
Power Macintosh 7100 
Power Macintosh 8100 
Workgroup Server 6150
Workgroup Server 8150
Workgroup Server 9150
PowerBook 520/c
PowerBook 540/c
PowerBook 550
PowerBook Duo 280
PowerBook Duo 280c
Quadra 630
PowerBook 150

1995    Power Macintosh 6200 / 6300    
Power Macintosh 6200 / 6300
Macintosh LC 580
Performa 5200 
Power Macintosh 9500 
Power Macintosh 7200
Power Macintosh 7500 
Power Macintosh 8500 
PowerBook 190
PowerBook 5300
PowerBook Duo 2300c  

1996    Apple Network Server 500
Performa 6400
Apple Network Server 700/150
Workgroup Server 7250
Workgroup Server 8550
Performa 5260 / 5300
Performa 5400 
Power Macintosh 7600
Apple Network Server 700/200
Performa 6360
Performa 6400
Power Macintosh 4400
PowerBook 1400

1997    Power Macintosh 5500 
PowerBook G3
Power Macintosh 6500 
Power Macintosh 7300 
Power Macintosh 8600 
Power Macintosh 9600 
PowerBook 3400
Twentieth Anniversary Macintosh
Workgroup Server 7350
Workgroup Server 9650
PowerBook 2400c
iMac G3
Power Macintosh G3 desktop
Power Macintosh G3 minitower               
PowerBook G3

1998    Power Macintosh G3 AIO
Macintosh Server G3
PowerBook G3 series    
iMac G3

1999    Power Macintosh G3 (Blue & White)
iBook
Macintosh Server G3 (Blue & White)
PowerBook G3 ("Lombard")
iBook    
Macintosh Server G4
iMac (slot loading)
Power Mac G4 Graphite              

2000s Macintosh

2000    PowerBook ("Pismo")
Power Mac G4 Cube
iBook (FireWire)

2001    PowerBook G4 Titanium
iBook (white)
Power Mac G4 Quicksilver
Server G4 Quicksilver

2002    iMac G4 15"
iBook (14")
eMac
Xserve 
iMac G4 17"
Power Mac G4 MDD
Macintosh Server G4 MDD

2003    PowerBook G4 Aluminum (12")
PowerBook G4 Aluminum (17")
Xserve slot loading
Xserve Cluster Node
Power Mac G5 
PowerBook G4 Aluminum (15")
iBook G4 (12" / 14")
iMac G4 20"

2004    Xserve G5
Xserve Cluster Node G5               
Power Mac G5 FX
iMac G5 17"       
iMac G5 20"       
Mac mini

2005    Mac mini
Power Mac G5 dual core

2006    iMac Core Duo 
MacBook Pro (15")         
Mac mini Core Solo        
Mac mini Core Duo
MacBook Pro (17")
MacBook            
MacBook Pro
Mac Pro              
Xserve (Intel)   
iMac 17" Core 2 Duo      
iMac 20" Core 2 Duo      
iMac 24" Core 2 Duo      
MacBook Pro (Late 2006)
MacBook (Late 2006)     

2007    MacBook (Mid 2007)
MacBook Pro (Mid 2007)
iMac 20" Aluminum
iMac 20" Aluminum
iMac 24" Aluminum
Mac mini Core 2 Duo
MacBook Pro (Late 2007)
MacBook (Late 2007)

2008    Xserve Harpertown
Mac Pro Harpertown
MacBook Air     
MacBook Penryn
MacBook Pro Penryn 15"             
MacBook Pro Penryn 17"             
iMac (early 2008)
MacBook Air Penryn
MacBook White
MacBook Air 2008
MacBook Aluminum      
MacBook Pro (Unibody) 15"

2009    MacBook Pro (Unibody) 17"
MacBook White (early 2009)      
Mac mini (early 2009)    
iMac (early 2009)
Mac Pro (early 2009)
Xserve Nehalem
MacBook (mid-2009)     
Macbook (Late 2009)
MacBook Pro 13" (Mid 2009)      
MacBook Pro 15" (Mid 2009)      
MacBook Pro 17" (Mid 2009)      
MacBook Air (Mid 2009)               
Mac mini (Late 2009)     
iMac (Late 2009)              
Macbook (Late 2009)     

2010s Macintosh

Mac Pro (Mid 2010)
2010    MacBook Pro (Early 2010)
MacBook (Mid 2010)     
Mac Mini (Mid 2010)      
iMac (Mid 2010)               
Mac Pro (Mid 2010)        
MacBook Air (Late 2010)

2011    MacBook Pro (Early 2011)            
iMac (Mid 2011)               
MacBook Air (Mid 2011)               
Mac Mini (Mid 2011)      
MacBook Pro (Late 2011)             

2012    MacBook Air (Mid 2012)
MacBook Pro (Mid 2012)
MacBook Pro with Retina display
MacBook Pro with Retina display (Mid 2012)
Mac Pro (Mid 2012)
iMac (Late 2012)
MacBook Pro with Retina display (Late 2012)
Mac mini (Late 2012)

2013    MacBook Pro with Retina display (Early2013)     
MacBook Air (Mid 2013)
MacBook Pro with Retina display
(Late 2013)      
Mac Pro (Late 2013)

2014    iMac with Retina 5K Display (Late 2014) 
Mac Mini (Late 2014)      

 iMac with Retina 5K Display